top of page

ที่มาของเรื่อง

 

      บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ท่านได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในจินตนาการของพระองค์ โดยพระองค์ท่านได้ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่องทั้ง้ใน ชื่อเรื่อง ชื่อตัวเอก และรายละเอียด ต่าง ๆเช่น ชื่อเรื่อง มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก และชื่อนางเอกของเรื่องนั้นเอง

        มัทนะพาธา มีความหมาย ว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก ซึ่งตรงกับแก่นของเรื่อง ที่ชี้ให้เห็นโทษของความรัก

                     ลักษณะการแต่ง

 

   เรื่องมัทนะพาธาใช้คำประพันธ์หลายชนิดแต่เน้นแต่งด้วยฉันท์ บางตอนใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์ และมีบทเจรจาร้อยแก้วในส่วนของตัวละครที่ไม่สำคัญ ทำให้มีลีลาภาษาที่หลากหลาย ตอนใดดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดต้องการจังหวะเสียงและ

 

ความคล้องจองก็ใช้กาพย์ และตอนใดที่เน้นอารมณ์มากก็มักใช้ฉันท์ 

ระยะเวลาในการแต่ง

 

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำละครพูดมาสู่วงการวรรณกรรมไทยเป็นครัง้ แรก ทัง้ นีเ้นื่องจากทรงสนพระทัยในบทละครของวิลเลียม เชคสเปียร์ จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดไว้เป็นจำนวนมาก แต่เรื่องมัทนะพาธาหรือตำนานดอกกุหลาบนี้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทละครพูดคำฉันท์เพียงเรื่องเดียวโดยทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เมื่อวันที่ ๒ กันยายน  ๒๔๖๖ ขณะทรงพระประชวร และประทับอยู่ ณ พระราชวังพญาไท และทรงพระราชนิพนธ์เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๖๖ นับได้ว่าใช้เวลาเพียง ๑ เดือน ๑๗ วันเท่านั้น

Mattanapata

                   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขณะทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง จนถึง พ.ศ.๒๔๓๖ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษาเศษ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ระหว่างประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งประทับอยู่ในกรุงเทพฯ เสด็จทิวงคต ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ให้ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารแทนเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗การศึกษาขั้น อุดมศึกษาของพระองค์นั้น เดิมได้กำหนดว่าจะให้ทรงศึกษาวิชาทหาร แต่เมื่อทรงดำรงตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร และจะต้องเสด็จขึ้น ครองราชย์ต่อไป

bottom of page